วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ชุดการสอนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องร่างกายของเรา(ระบบย่อยอาหาร)

+++ร่างกายของเรา+++
การจัดระบบในร่างกาย
ในร่างกายจะประกอบด้วยหน่วยของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดคือเซลล์(cell)เซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือสเปิร์ม (sperm) และใหญ่ที่สุดคือไข่ (egg)
cell หลาย ๆ cell รวมกันกลายเป็น เนื้อเยื่อ (tissue)
เนื้อเยื่อ (tissue) หลาย ๆ เนื้อเยื่อ (tissue) รวมกันกลายเป็น ระบบ (system)
ระบบ (system) หลาย ๆ ระบบ (system) รวมกันกลายเป็น ส่วนประกอบของร่างกาย
ส่วนประกอบของร่างกาย (parts of body) รวมกันกลายเป็น ร่างกาย (body)
เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย
1. เซลล์ร่างกาย (body cell) ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางพบตามร่างกาย
2. เซลล์เยื่อบุ (epidermis) ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสตรงกลางนูนเหมือนไข่ดาว พบตามเยื่อบุที่มีผนังบางมีเมือก (mucus) หล่อเลี้ยง เช่น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ดวงตา อวัยวะเพศภายใน
3. เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) มี 3 ชนิด
ก. เซลล์กล้ามเนื้อลาย (reticular muscle) พบตาม แขน ขา
ข. เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) พบตาม อวัยวะภายใน เช่น ทางเดินอาหาร
ค. เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac cell) พบที่หัวใจ
4. เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell ; RBC)
5. เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell ; WBC)
6. เซลล์ประสาท
7. เซลล์กระดูก
8. เซลล์สมอง
9. เซลล์สืบพันธุ์
ระบบต่างๆในร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีระบบ ถ้าระบบใดระบบหนึ่งผิดปรกติ ร่างกายก็จะแสดงความผิดปรกติออกมา เช่น พิการ เป็นโรค ฯลฯ ระบบต่างๆในร่างกายที่จะได้ศึกษา ได้แก่
1. ระบบย่อยอาหาร 6. ระบบประสาท
2. ระบบสืบพันธุ์ 7. ระบบกล้ามเนื้อ
3. ระบบหัวใจ การหมุนเวียนของเลือด 8. ระบบกระดูก
4. ระบบหายใจ 9. ระบบภูมิคุ้มกัน
5. ระบบการขับถ่ายหรือการกำจัดของเสีย
2.1 ระบบย่อยอาหาร (Digestion)
ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่ เปลี่ยนอาหารมีโมเลกุลขนาดใหญ่ ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างพลังงาน สร้างความเจริญขั้นตอนต่างๆ ที่จะเปลี่ยนจากอาหารให้เป็นสารอาหารก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดบริเวณผนังของลำไส้เล็ก การย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้อง น้ำย่อย และ ตัวเร่งปฏิกิริยา
2.1.1 อวัยวะที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยอ้อม
ก. อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยตรง ประกอบด้วย
1. ปากและฟัน (mouth and teeth) ประกอบด้วย
1.1 ริมฝีปาก พบชนิดสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุ ติดต่อกับผนังเยื่อบุข้างแก้ม
1.2 ช่องแก้ม ประกอบด้วยเซลล์ เยื่อบุเป็นบริเวณที่ผลิตน้ำเมือกและเป็นทางเปิดออกของต่อมน้ำลาย
1.3 ช่องปาก ประกอบด้วยเพดานปาก ลิ้นไก่ บริเวณใต้ลิ้น
1.4 ต่อมน้ำลาย (salivary gland) อยู่รอบ ๆ ปาก มี 3 คู่
ก. ต่อมน้ำลาย ใต้กกหู (parotid gland) เป็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ทางด้านล่างของหูทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำลายชนิดใส (serous)ถ้าต่อมนี้ติดเชื้อไวรัสจะทำให้อักเสบ บวม เรียกว่าโรคคางทูม ในเพศชายเชื้ออาจรุกลามไปถึงลูกอัณฑะทำให้เป็นหมันในที่สุด
ข. ต่อมน้ำลาย ใต้ขากรรไกร (submandibular gland) มีลักษณะคล้ายรูปไข่ เปิดสู่เพดานล่างของปากทางด้นข้างของฟันตัดด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำลายชนิดใส และชนิดข้นเล็กน้อย
ค. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) อยู่ตรงกลางระหว่างขากรรไกรล่างบริเวณใต้ลิ้นประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำลายชนิดข้น (mucous)
ส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำลาย
1. มีค่า pH ระหว่าง 6.2-7.4 ประสิทธิภาพของน้ำลายสูงสุดที่ pH = 6.8 (กรดอ่อน ๆ)
2. มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 97-99 %
3. เป็นสารที่มีสภาพหนืด ประกอบด้วย ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในปริมาณสูง
4. ประกอบด้วยน้ำย่อย (enzyme) ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง คือ เอนไซม์ไทยาลินหรือเอนไซม์อะไมเลส(ptyalin or amylase)
5. มีสารเมือก (mucus) ช่อยในการหล่อลื่น
หน้าที่ของน้ำลาย
1. ช่วยกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
2. ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย
3. ทำหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท
4. ทำหน้าที่ทำลายอาหาร ให้ต่อมรับรส (tast bud) รับรสอาหารได้ช่วยทำความสะอาดปากและฟัน
5. ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้นขณะพูด
6. ขับสารบางชนิดออกมา (excretory) ได้แก่ ยูเรีย น้ำตาล ละสารพิษต่าง ๆ เช่น ปรอท (Hg)
ตะกั่ว (Pb)
1.5 ลิ้น (tongue) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ ผนังของลิ้นเป็นตุ่มนูนขึ้นมาซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย ลิ้นช่วยในการคลุกเคล้าอาหารและให้น้ำลายคลุกเคล้าอาหารได้ทั่วถึง และช่วยในการกลืน นอกจากนี้ยังช่วยในการให้เกิดเสียงและช่วยรับรสอีกด้วย
ตำแหน่งของลิ้นที่ช่วยในการรับรส
ปลายลิ้น รับรส หวาน ขอบลิ้นส่วนหน้า รับรส เค็ม ขอบลิ้นส่วนล่าง รับรส เปรี้ยว โคนลิ้น รับรส ขม
1.6 ฟัน ประกอบด้วย
๑. ตัวฟัน เป็นส่วนที่โผล่ออกจากขากรรไกร เมื่อนำมาผ่าตามแนวยาวจะเห็น ส่วนประกอบดังนี้
ก. ชั้นเคลือบฟัน(enamel) ประกอบด้วย แคลเซียมฟลูออไรด์ (CaF2 ) มีสีขาวเนื้อแน่นเป็นส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อฟันไว้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร
ข. ชั้นเนื้อฟัน (dentine) อยู่ในชั้นใต้ชั้นเคลือบฟัน ในส่วนนี้ประกอบด้วย cell ที่มีชีวิตทำหน้าที่สร้างเนื้อฟันได้
ค. ชั้นโพรงประสาทฟัน (neck) เนื้อคอฟัน ส่วนนี้ประกอบด้วย cell ประสาท และหลอดเลือดโยผ่านมาทางคลองรากฟัน
๒. รากฟัน (root) เป็นส่วนที่ติดกับขากรรไกร หุ้มด้วยเหงือก
สาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ เนื่องจากมีจุลินทรีย์ในช่องปากย่อยสลายเศษอาหาร เช่น น้ำตาล เมื่อถูกย่อยจะได้กรด แล้วจะไปทำลายฟัน ดังนี้
1. กัดสารเคลือบฟัน ทำให้เกิดร่อง
2. กรดจะเจาะเข้าไปถึงชั้นเนื้อฟันและโพรงประสาทฟัน ทำให้ปวด
3. เมื่อลามถึงรากฟัน ฟันจะหลุดออก
* จุลินทรีย์ใช้น้ำตาลสร้างเมือกเหนียวให้ติดกับตัวฟันเรียกว่า พลัค (plaque)
ชนิดของฟัน
1. ฟันน้ำนม (Temporary teeth) มีทั้งหมด 20 ซี่ บน 10 ล่าง 10 ฟันน้ำนมจะงอกตั้งแต่ 6 เดือน - 12 ปี ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ถึง 12 ปี
2. ฟันแท้ (Permanent teeth) มีทั้งหมด 28-32 ซี่ แล้วแต่ฟันกรามหลังจะงอกครบหรือไม่ อยู่ขากรรไกรบน 16 ซี่ และ ขากรรไกร 16 ซี่
รูปร่างและหน้าที่ของฟัน
1. ฟันตัด (Incisor; I) อยู่ส่วนหน้ามีรูปร่างบางคล้ายลิ่มมีจำนวนทั้งหมด 8 ซี่
2. ฟันเขี้ยว (Canine;C) ทำหน้าที่ฉีกกัดอาหาร และรักษามุมปาก มีจำนวน 4 ซี่
3. ฟันเคี้ยวหรือกรามหน้า (Prermolar;P) มีจำนวนทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร
4. ฟันกรามหลัง (Molar;M) ฟันบด มีความแข็งแรงใช้บดอาหาร มีจำนวน 12 ซี่
*ข้อ 1 และ 2 เรียกว่า ฟันหน้า ข้อ 3 และ 4 เรียกว่า ฟันหลัง
ข้อแตกต่างระหว่างฟันแท้กับฟันน้ำนม
1. ขนาด ฟันแท้มีรูปร่างขนาดใหญ่กว่า
2. สี ฟันน้ำนมขาว ฟันแท้สีนวลขึ้น
3. ส่วนของคอฟัน ฟันน้ำนมคอคอดมากสั้น ฟันแท้คอดน้อยยาว
4. รากฟัน ฟันน้ำนมห่าง ฟันแท้จะถี่
2. คอหอย (pharynx) เป็นท่ออยู่ระหว่างด้านหลังของช่องปากและหลอดลม บริเวณนนี้เป็นจุดเชื่อมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารโดยมีกลไกควบคุมการส่งอาหารหรืออากาศคนละเวลากัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยต่อน้ำเหลือง 3 คู่อยู่รอบ ๆ คอหอย มีหน้าที่ดักจับเชื้อโรค เรียกว่า “ต่อมทอนซิล” (tonsil)
3. หลอดอาหาร (oesophagus) อยู่ต่อจากคอหอยอยู่ด้านหลังหลอดลม (trachea) ส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลายมีหูรูด ช่วยปิดเปิดหลอดอาหารระหว่างกลืนอาหารส่วนท้ายเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยบีบส่งอาหารเป็นระยะ เรียกว่า เพอรีสตัลซีส (peristalsis) ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ได้สะดวก
4. กระเพาะอาหาร (stomach) อยู่บริเวณด้านซ้ายของช่องท้องกว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ก. คาร์ดิแอค (Cardiac) เป็นส่วนที่ต่อจากหลอดอาหาร
ข. ส่วนฟันดัส (Fundus) เป็นส่วนมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บอดี้” (body)
ค. ไพโลรัส (Pylorus) เป็นส่วนท้ายของกระเพาะที่ต่อกับลำไส้เล็กตรง ทำหน้าที่ส่งอาหารสู่ลำไส้เล็กเป็นระยะ ๆ
5. ลำไส้เล็ก (Small Intestine) ยาวประมาณ 10 m แบ่งออกเป็น 3 ตอนได้แก่
ก. ดูโอดีนัม (Duodenum) ต่อจากกระเพาะอาหารยาวประมาณ 1 ฟุต ส่วนบนมีท่อเปิดจากตับอ่อนมีท่อส่งน้ำดีกับน้ำย่อยต่าง ๆ บริเวณส่วนนี้จะมีลักษณะเป็น รูปตัว U
ข. เจจูนัม (Jejunum) ยาวประมาณ 8-9 ฟุต ย่อยและดูดซึมอาหารและสารอาหารมากที่สุด
ค. อิเลียม (Ileum) ส่วนสุดท้ายต่อกับลำไส้ใหญ่เป็นมุมฉากบริเวณไส้ติ่งยาวประมาณ 2-3 ฟุต ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารมาสู่ร่างกายค่อนข้างน้อย
ที่ผนังด้านในของลำไส้เล็กประกอบด้วยตุ่มเล็ก ๆ มากมาย ประมาณ 20-40 อัน/mm2 (ตารางมิลลิเมตร) ตุ่มเหล่านี้เรียกว่า “วิลลัส” (Villus) ด้านในประกอบด้วยเส้นเลือดและเส้นน้ำเหลือง เลือดทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหารและทำลายเชื้อโรค ตามลำดับ
6. ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) ยาวประมาณ 1.5 เมตร เริ่มตั้งแต่ส่วนของอิเลียมจนถึงทวารหนัก แบ่งเป็น 4 ส่วน
ก. ซีกัม (Cecum) ต่อจากอิเลียมยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ตรงรอยต่อมีหูรูด บริเวณนี้มีไส้เล็ก ๆ เรียกว่า “ไส้ติ่ง” (Appendix) ส่วน
ข. โคลอน (Colon) แบ่งเป็น 3 ตอน ตั้งฉากกันเป็นส่วนที่ยาวที่สุด
ค. ส่วนของเร็กตัม (Rectum) หรือเรียกว่าไส้ตรง สิ้นสุดที่ทวารหนักยาวประมาณ 12-15 ซม. อยู่ด้านหลังกระเพาะปัสสาวะหรือมดลูก บริเวณนี้มีแนวโน้มให้เกิดโรคมะเร็งมากที่สุด
ง. ช่องทวารหนัก (Anal Canal) ยาวประมาณ 2.5 - 3.5 ซม. ปลายสุดเปิดออกนอกร่างกายเรียกว่า “ทวารหนัก (Anus)” ประกอบด้วยหูรูด(sphincter) 2 แห่ง คือ ด้านนอกและด้านใน หูรูดด้านในอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของจิตใจ หูรูดส่วนนอกอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ
หน้าที่ของลำไส้ใหญ่
1. สะสมกากอาหาร
2. ดูดซึมแร่ธาตุ น้ำ กลูโคส
3. มีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยกากอาหารโดยเฉพาะเซลลูโลส ให้มีสภาพเหลวหรืออ่อนนุ่ม
ข. อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
1. ตับ (Liver) เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมี 2 ซีก ซ้าย-ขวา มีสีน้ำตาลเนื้อแน่น หนักประมาณ 3.3 - 3.5 ปอนด์ ภายในประกอบด้วยก้อนเล็ก ๆ มากมายเรียกว่า “โลบุล (Lobul)” ระหว่างโลบุลมีช่องว่างเล็ก ๆ เป็นทางผ่านของเลือด เรียกว่า “ไซนูซอยด์ (Sinusiod)” นอกจากนี้ยังมีถุงน้ำดีอยู่ด้วย
หน้าที่ของตับ
1. สร้างน้ำดีจากเม็ดเลือกแดงที่หมดอายุคือ ประมาณ 120 วัน
2. สร้างเลือดในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ (Fetus)
3. ทำลายเม็ดเลือดแดง
4. เปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจน หรือสลายไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสเมื่อร่างกายขาดแคลน
5. ทำลายพิษที่ร่างกายรับเข้ามาหรือสร้างขึ้น เช่น แอลกอฮอล์ โลหะหนัก อะฟลาทอกซิล
6. สร้างน้ำเหลืองประกอบด้วยเม็ดเลือดขาว ภูมิคุ้มกัน
2. ตับอ่อน (Pancreas) มีลักษณะคล้ายใบไม้ยาวประมาณ 20-25 ซม. สีแดงหรือสีเทา มีต่อเปิดสู่ส่วนโค้งของดูโอดีนัม ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ ผลิตของเหลวได้ประมาณ 2 ลิตร ซึ่งประกอบด้วย
ก. น้ำย่อย ซึ่งทำหน้าที่ย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน
ข. โซเดียมไบคาร์บอเนต มีคุณสมบัติเป็นเบส (ด่าง) เพื่อปรับสภาพอาหารที่มาจากกระเพาะอาหารซึ่งมีสภาพเป็นกรด ให้มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นเบสอ่อน ๆ เพื่อจะไม่ทำลายเยื่อบุของลำไส้เล็ก (Villi)
2.1.2 น้ำย่อย (enzyme) ประกอบด้วย ไทยาลิน ในน้ำลาย เปปซินในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยอื่น ๆ ที่ ดูโอดินัม และตับอ่อน
2.1.3 ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalize) ประกอบด้วย น้ำ น้ำดีจากตับ กรดเกลือจากกระเพาะ Ca

2.2 ระบบสืบพันธุ์
2.2.1 การเจริญเติบโตของหญิงและชาย
ในวัยของนักเรียนช่วงอายุ 10 - 17 ปี เพศหญิงจะมีอัตราการเจริญเติบโตมากว่าชาย หลังจากนั้นเพศชายจะเจริญเติบโตมากกว่าเพศหญิง และจะหยุดการเจริญประมาณ 20 ปีสำหรับเพศหญิงและ 25 ปีสำหรับเพศชาย อัตราการเจริญเติบโต จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
ก. การแสดงออกจากพันธุกรรม (ยีโนไทพ์ ; Genotype) เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ คือมาจาก ยีน (Gene) นั่นเอง ได้แก่ สีผิว ผม ดวงตา ฯลฯ
ยีน (Gene) คือ หน่วยที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ที่อยู่บนโครโมโซม
ข. การแสดงออกจากสิ่งแวดล้อม (ฟีโนไทพ์;Phenotype) เป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลมาจาก สิ่งแวดล้อม (Enviroment) ได้แก่ อาหาร โรค จิตใจ การเลี้ยงดู ความรู้ ฯลฯ
เมื่อร่างกายเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน (Hormone) มากระตุ้นต่อมเพศให้ผลิตฮอร์โมนเพศ แล้วทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ต่อมเพศของเพศชายจะอยู่ที่ อัณฑะ (Testis) ส่วนต่อมเพศของเพศหญิงจะอยู่ที่ รังไข่ (Ovary)
2.1.3 การผสมเทียม หมายถึงการปฏิสนธิที่ไม่ได้มีการร่วมเพศ จะผสมอยู่นอกหรือในมดลูกก็ได้ เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่มีบุตรยาก หรือประโยชน์ทางการค้าสำหรับ พืชหรือสัตว์
1. เด็กหลอดแก้ว (Test tube babies) ใช้ไข่ผสมกับอสุจิ ในหลอด 16-18 ชั่วโมง นำไปเลี้ยงให้แบ่งเซลล์ 2-4 เซลล์ แล้วนำไปฉีดเข้าโพรงมดลูกหรือท่อนำไข่
2. กิ๊ฟ Gift technique :GIFT, Gamete intrafallopian transfer(ผศ.นพ.สิงห์เพ็ชร สุขสมปอง) คือวิธีการที่ใส่เชื้ออสุจิ (ที่เตรียมแล้ว) และไข่ (sperm and egg)เข้าไปในท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง 1 หรือ 2 ข้าง ทั่วๆไปจะใส่ไข่ 2 ฟองร่วมกับตัวเชื้ออสุจิ 5 หมื่นถึง 1 แสนตัวต่อท่อ 1ข้าง (รวมแล้วใช้ไข่ 4 ฟอง)
ข้อบ่งชี้
1. ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกโพรงมดลูก
3. เชื้ออสุจิอ่อนแต่ไม่มาก
4. หลังจากไม่สำเร็จจากการผสมเทียมโดยใช้เชื้อชายอื่น ทำโดยนำไข่ใส่กับอสุจิ โดยมีฟองอากาศขั้นไว้แล้วฉีดเข้าไปในท่อนำไข่
3. ย้ายฝากตัวอ่อน (ET ; Embryo Transfer) ในกรณีที่มดลูกไม่สามารถรองรับบุตรได้แต่รังไข่ผลิไข่อยู่ ถ้าอยากมีบุตรต้องย้ายไข่ที่นำมาผสมภายนอกแล้วไปฝากกับผู้อื่น เช่น ญาติ
4. โคลนนิ่ง (Clonning) เป็นการกอบปี้ พันธุกรรม แล้วต่อในขั้นตอนของ ET มีหลักการง่าย ๆ ดังนี้ นำนิวเคลียสของเซลล์ต้นแบบ (เซลล์ร่างกาย) ไปใส่ในเซลล์ไข่ ที่นำนิวเคลียสออก
2.1.4 การควบคุมจำนวนประชากรมนุษย์
ก. ใช้อุปกรณ์
1. ถุงยางอนามัย ปลอดภัย อาจระคายเคือง
2. ห่วงอนามัย
3. ฝาครอบมดลูก
ข. ใช้สารเคมี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. ฮอร์โมน เอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน ป้องกันการตกไข่ ผนังมดลูกหนา
2. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้สภาพมดลูกไม่เหมาะสม เช่น
- ยาคุมกำเนิด
- ฝังฮอร์โมนใต้ผิวหนัง
- ยาสอดฆ่า สเปิร์ม
ค. โดยการผ่าตัด (ทำหมัน)
ง. การนับวัน เหมาะสำหรับ คู่สามีภรรยา โดยมีเพศสัมพันธ์ ก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน
2.3 ระบบการหัวใจ หมุนเวียนของเลือด ตัวจักรสำคัญของระบบนี้คือ หัวใจ และหลอดเลือด
1. หัวใจ (Heart) เมื่อร่างกายโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 12.5 cm กว้าง 9 cm และหนา 5 cm หนักประมาณ 300 g อยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ส่วนล่างมีกระบังลมรองรับ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
1. เนื้อเยื่อชั้นใน (Endo cardium) ประกอบด้วยเยื่อบุผิว
2. เนื้อเยื่อชั้นกลาง (Myo cardium) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจ หนาที่สุด
3. เนื้อเยื่อชั้นนอก (Epi cardium) ประกอบด้วยเยื่อบุผิว หลอดเลือด ชั้นไขมัน
ห้องหัวใจ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีหัวใจ 4 ห้อง
1. ห้องบนซ้าย (Left Atrium) ทำหน้าที่รับเลือดแดงที่มาจากปอด
2. ห้องบนขวา (Right Atrium) ทำหน้าที่รับเลือดดำที่มาจากส่วนต่างๆของร่างกาย
3. ห้องล่างซ้าย (Left Ventricle) ทำหน้าที่ส่งเลือดแดงไปที่ส่วนต่างๆของร่างกาย
4. ห้องล่างขวา (Right Ventricle) ทำหน้าที่ส่งเลือดดำไปยังปอด
ลิ้นหัวใจ (Valve) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำหน้าที่ ปิด-เปิด ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ มีลักษณะคล้ายถุง นายวิลเลียม ฮาร์วีย์ ชาวอังกฤษ ค้นพบว่าเลือดไหลไปทางเดียว และมีลิ้นควบคุมอยู่ 2 กลุ่ม 4 ลิ้น ดังนี้
ก. ลิ้นในหัวใจ (cuspid Valve)
1. ลิ้นไตรคัสปิด (Tricuspid Valve) กั้นระหว่าง Right Atrium กับ Right Ventricle มี 3 แฉก
2. ลิ้นไบคัสปิด (ฺBicuspid Valve) กั้นระหว่าง Left Atrium กับ Left Ventricle มี 2 แฉก
ข. ลิ้นหัวใจกับหลอดเลือด (Semilunar Valve)
1. ลิ้นพัลโมนารีเซมิลูนาร์ (Pulmonary Semilunar) อยู่บริเวณโคนของเส้นเลือดออกจากหัวใจไปปอด (Pulmonary Artery) ที่ออกจาก ห้องRight Ventricle มี 3 แฉก
2. ลิ้นเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic Semilunar) อยู่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ที่ออกจาก ห้อง Left Ventricle มี 3 แฉก
2. หลอดเลือด
การหมุนเวียนเลือดในหัวใจ ประกอบด้วยหลอดเลือด 3 ระบบ โดยยึดระบบการเข้า -ออกของเลือดจากหัวใจ
1. ระบบหลอดเลือดออกจากหัวใจ (Arterial systeme) ส่วนใหญ่จะเป็นเส้นเลือดแดง ยกเว้น เส้นเลือดดำไปปอด (Pulmonary Artery) เส้นเลือดกลุ่มนี้ได้แก่
1.1 หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) นำเลือดออกจากห้องล่างซ้าย ไปเลี้ยงร่างกาย มีขนาดใหญ่ที่สุดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว
1.2 หลอดเลือดแดง (Artery) นำเลือดต่อออกจาก Aorta ไปเลี้ยงร่างกาย
1.3 หลอดเลือดแดงเล็ก (Arteriole) นำเลือดต่อออกจาก Artery ไปเลี้ยงร่างกาย ลักษณะของหลอดเลือดกลุ่มนี้
- มีผนังหนา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นในเป็นเยื่อบุผิว ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อเรียบ และชั้นนอกสุดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
- มีความยืดหยุ่นดีมาก ทนทานต่อแรงดันสูง
2. หลอดเลือดเข้าสู่จากหัวใจ (Venous systeme) หรือเส้นเลือดเวน(Vien) ส่วนใหญ่จะเป็นหลอดเลือดดำ ยกเว้น เส้นเลือดแดงที่มาจากปอด (Pulmonary Vein) เส้นเลือดกลุ่มนี้ได้แก่
2.1 หลอดเลือดดำใหญ่ (Vana cava) นำเลือดเข้าสู่ร่างกาย มีขนาดใหญ่ที่สุด มี 2 เส้น
2.1.1 หลอดเลือดสุพีเรียเวนาคาวา (Superoir Vana cava) นำเลือดกลับจากส่วนบนของร่างกาย เช่น หัว คอ แขน
2.1.2 หลอดเลือดอินฟีเรียเวนาคาวา (Inferoir Vana cava) นำเลือดกลับจาก ส่วนล่างของร่างกาย เช่น ขา ลำตัว
2.2 หลอดเลือดเวน (Vien) นำเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หลอดเลือดเวนาคาวา
2.3 หลอดเลือดเวนูล (Venule) นำเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หลอดเลือดเวน
3. ระบบหลอดเลือดฝอย(Capillary) เป็นทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงเส้นผ่าสูญกลางประมาณ 7 ไมโครเมตร ผนังบางมากเพราะประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว เลือดสามารถผ่านได้ที่ละเซลล์เท่านั้น
การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ จะเริ่มจากจุดไหนก่อนก็ได้ ในที่นี้ขอเริ่มจาก
1. หัวใจห้องบนขวารับเลือดดำจากส่วนบนและส่วนล่างของร่างกายทางหลอดเลือด Inferior Venacava และ Superior Venacava จากนั้นเลือดดำจะถูกบีบผ่านลิ้น Tricuspid เข้าสู่หัวใจห้องล่างขวา
2. หัวใจห้องล่างขวาบีบตัวให้เลือดดำไหลผ่านลิ้น Pulmonary Semilunar ไปตามหลอดเลือด Pulmonary Artery เพื่อนำเลือดเสียไปฟอกที่ปอด แล้วส่งเลือดไปตามหลอดเลือด Pulmonary Vien เข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย
3. หัวใจห้องบนซ้าย บีบตัวให้เลือดแดงผ่านลิ้น Bicuspid ลงสู่ห้องล่างซ้าย
4. ห้องล่างซ้ายบีบตัวให้เลือดแดงไหลผ่านลิ้น Aortic Semilunar ไปสู่หลอดเลือด Aorta เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตามระบบหลอดเลือดที่เรียนมาแล้ว แล้วกลับสู่หัวใจทางห้องบนขวาตามข้อ 1
หน้าที่ของเลือด
1. ลำเลียง O2 และ CO2
2. ลำเลียงสารอาหารออก วิลลัสที่ลำไส้เล็ก ไปสู่เซลล์
3. ลำเลียงของเสียออกจากเซลล์ ไปสู่อวัยวะขับถ่าย
4. ลำเลียงภูมิคุ้มกัน
5. รักษาอุณหภูมิของร่างกาย
ส่วนประกอบของเลือด
คนที่โตเต็มที่จะมีเลือดประมาณ 70-80 % ของน้ำหนักตัว มีคุณสมบัติเป็นเบสอ่อน ๆ pH ประมาณ 7.35-7.45 ประกอบด้วย
1.ของเหลว หรือ พลาสมา (plasma) มีประมาณ 55 % ของเลือดทั้งหมด ลักษณะใสออกเหลืองประกอบด้วย
ก. น้ำ ประมาณ 90-93 % ทำหน้าที่
- รักษาปริมาณเลือดและความดันเลือดให้คงที่
- เป็นตัวทำละลายแร่ธาตุและวิตามิน
- ทำให้เซลล์เต่งขึ้น
ข. แร่ธาตุ ประมาณ 1 % เช่น Na , Mg , Cl
ค. โปรตีน ประมาณ 6-8 % ได้แก่ โปรทรอมบิน ไฟบริโนเจน อัลบูมีน ฯลฯ ทำหน้าที่
- เลือดมีความหนืด
- การแข็งตัวของเลือด
ง. สารอื่น ๆ เช่น สารอาหาร ก๊าซ ฮอร์โมน แอนติบอดี ฯลฯ
2. เม็ดเลือด มีประมาณ 45 % ของเลือดทั้งหมด ได้แก่
ก. เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte หรือ Red Blood Cell)
ข. เม็ดเลือดขาว (Leucocyte หรือ White Blood Cell)
ค. เกล็ดเลือด (Pletelet)
ข. เม็ดเลือดขาว (Leucocyte หรือ White Blood Cell) ทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม โดยปกติจะปะปนมากับเลือดแดง มีนิวเคลียส ไม่มีฮีโมโกลบิน คนทั่วไปจะมีเม็ดเลือดขาวประมาณ 5,000-10,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ml ถ้า เม็ดเลือดขาวทำงานจะมีอาการไข้ อักเสบ บางกรณีเม็ดเลือดขาวอาจลดลงผิดปกติเช่นการอักเสบจากเชื้อไวรัส (วัณโรค) สามารถนำมาวินัจฉัยโรคนี้ได้ หรือเม็ดเลือดขาวมีมากผิดปกติอาจเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Luekemia)
การสร้างและทำลายเม็ดเลือดขาว สร้างที่ ไขกระดูก ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และถูกทำลายไปพร้อมกับสิ่งแปลกปลอม
ชนิดของเม็ดเลือดขาว แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. ฟาโกไซต์ (Phagocye) มีนิวเคลียส 1 อันจะคอดเป็นหลายพูก็ได้ แต่ไม่แยกออกจากกัน มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม เรียกว่า “ฟาโกไซโตซีส” (Phagocytosis)
2. ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับเม็ดเลือดแดง รูปร่างกลม นิวเคลียสกลม พบในเลือดและน้ำเหลืองทำหน้าที่สร้างสารทำลายสิ่งแปลกปลอม เรียกว่า “แอนติบอดี” (Antibody)
ค. เกล็ดเลือด (Pletelet) เป็นชิ้นส่วนของ ไซโตพลาสซึม มีประมาณ 250,000-350,000 ชิ้นต่อเลือด 1 ml รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดประมาณ 1-4 ไมครอน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
การแข็งตัวของเลือด เมื่อร่างกายเกิดบาดแผลร่างกายเกิดกระบวนการดังนี้
1. เส้นเลือดมีขนาดเล็กลง
2. เกล็ดเลือดไปอุดบาดแผลโดยใช้โปรตีนสร้างเป็นเส้นใยกั้นที่บาดแผล
3. เม็ดเลือดไม่สามารถไหลออกได้ ทำให้เลือดแข็งตัว
2.4 ระบบหายใจ (respiration) หมายถึง กระบวนการเผาผลาญสารอาหารภายในเซลล์เพื่อให้เกิดพลังงาน
ปอด (Lung) มี 2 ข้างลักษณะคล้ายฟองน้ำ อากาศผ่านเข้าออกทางรูจมูก ซึ่งมีขนเล็กๆ และมิวคัสทำหน้าที่กรองอากาศ อากาศผ่านเข้าสู่คอหอยเพื่อแยกลงสู่หลอดลม หลอดลมจะแยกแขนงเล็กลงเรื่อยๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย ปลายสุดของหลอดลมฝอย มีลักษณะเป็นกระเปราะเล็กๆ เรียกว่า ถุงลม (Alveolus อัลวีโอลัส) หลอดลมใหญ่มีกระดูกอ่อนรูปเกือกม้าวางซ้อนกันเป็นชั้นๆกันไม่ให้หลอดลมแฟบ
รอบๆ อัลวีโอลัสจะมีเส้นเลือดฝอยมากมายเพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ และความร้อน ซึ่งมาจากกิจกรรมภายในเซลล์ ทำให้เกิดพลังงาน เรียกว่า “กระบวนการหายใจ”(Respiration) ดังสมการ
C6H12O6 + 6O2 6CO2 + 6H2O + พลังงาน
การหายใจเข้าออก
จากการทดลอง อธิบายการทำงานของปอดได้ดังนี้
การหายใจเข้า (inspiration) กล้ามเนื้อกระบังลมลดต่ำลง(ดึงแผ่นยางลง) พร้อมกระดูกซี่โครงยกตัวสูงขึ้น ทำให้ช่องอกมีปริมาตรมากขึ้น ความดันลดลงต่ำกว่าภายนอก ทำให้อากาศภายนอกไหลเข้า
การหายใจออก (exspiration) กล้ามเนื้อกระบังลมยกตัวสูงขึ้น(ปล่อยแผ่นยางขึ้น) พร้อมกระดูกซี่โครงลดตัวต่ำลง ทำให้ช่องอกมีปริมาตรน้อยลง ความดันสูงขึ้นกว่าภายนอก ทำให้อากาศภายในไหลออก
2.5 ระบบขับถ่ายหรือการกำจัดของเสีย (ที่ไม่ใช่ก๊าซ) ตัวจักรสำคัญของระบบนี้คือ
ก. การกำจัดของเสียที่ ไต
ข. การกำจัดของเสียที่ ผิวหนัง
ค. การกำจัดของเสียที่ ลำไส้ใหญ่
ของเสีย หมายถึงสารที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น CO2 น้ำ ยูเรีย
เมตาบอลิซึม (Metabolism) หมายถึงกระบวนการหมุนเวียนแปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตก็คือกระบวนการสร้างพลังงานในเซลล์นั่นเอง
ก. การกำจัดของเสียที่ไต (Kidney) ลักษณะคล้ายเม็ดถั่วแดง มี 2 ข้าง ติดกับผนังช่องท้องด้านกระดูกสันกลังระดับเอว ยาวประมาณ 10- 13 cm กว้างประมาณ 6 cm หนาประมาณ 3 cm หนักประมาณ 150 g การขับถ่ายของเสียอยู่ในรูปของน้ำปัสสาวะ ประกอบด้วย
1. ท่อไต (Ureter) 2 ข้าง 2. กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) 3. ท่อปัสสาวะ
ข. การกำจัดของเสียที่ผิวหนัง ผิวหนังประกอบด้วย cell 2 ชั้นคือ- cell ผนังกำพร้า cell หนังแท้และแต่ถ้าเกิดจากขบวนการกำจัดของเสียจะมีชั้นพื้นฐานคือ ชั้นของไขมัน ดังนี้
1. หนังกำพร้า ประกอบด้วยเยื่อบุผิวที่ตามแล้วเรียงเป็นชั้น ประกอบด้วยสาร เมลานิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเม็ดสี หรือรงควัตถุ(Pigment) ทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย
2. หนังแท้ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ cell ร่างกาย ยืดหยุ่นได้ดี ประกอบด้วยต่อมเหงื่อ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เส้นเลือดฝอย
3. ชั้นเนื้อเยื่อพื้นฐาน (ชั้นไขมัน) เป็นชั้นที่ประกอบด้วย cell ไขมัน หรือเรียกว่า Adipose cell ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น
การกำจัดของเสียเกิดขึ้นที่ชั้นหนังแท้ และชั้นไขมัน โดยปล่อยมาตามท่อเล็ก ๆ เรียกว่า “รูขุมขน” ของเหลวที่ขับออกมาเรียกว่า “เหงื่อ” ประกอบด้วยน้ำ แร่ธาตุ ยูเรีย กลิ่นตัว เหงื่อจะระเหยออกจากร่างกายโดยพาเอาความร้อนออกไปด้วย ทำให้ร่างกายรู้สึกเย็น ชนิดของต่อมเหงื่อ ต่อมเหงื่อถูกควบคุมการทำงานโดยการทำงานของศูนย์ควบาคุมอุณหภูมิในสมอง แบ่งเป็น 2 ชนิด
- ต่อมเหงื่อเล็ก ๆ อยู่บริเวณผิวหนังทั่วร่างกาย ยกเว้นริมฝีปาก อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน
- ต่อมเหงื่อใหญ่ เช่นรักแร้ รอบๆ สะดือ รอบๆ หัวนม จมูก แผ่นหลัง อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน
ส่วนประกอบของเหงื่อ
1. น้ำ 99 %
2. แร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ เกลือ ยูเรีย น้ำตาล กรดอะมิโนบางชนิด สารทำให้เกิดกลิ่น ประมาณอีก 1%
ค. การกำจัดของเสียที่ลำไส้ใหญ่ จะมีการบีบตัวเพื่อให้อาหารที่ไม่มีประโยชน์แล้ว ซึ่งเรียกว่า อุจจาระ ออกสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก
เมื่ออุจจาระตกอยู่ในลำไส้ใหญ่นานวัน น้ำในอุจจาระจะถูกดูดซึมกลับไป ทำให้อุจจาระแข็ง เกิดความลำบากในการถ่าย อาการนี้เรียกว่า ท้องผูก
2.6 ระบบประสาท
ทำหน้าควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย เช่น การหายใจ การตอบสนอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเจริญ ฯลฯ ประกอบ ด้วย สมอง ไขสันหลัง และ เส้นประสาท
1. สมอง เป็นศูนย์ควบคุมทั้งหมดของร่างกาย มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น แบ่งสมองออกเป็น 3 ส่วน
1.1 ซีรีบรัม(สมองส่วนหน้า) มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับความรู้สึกและสั่งการ เช่น การจำ เชาว์ ไหวพริบ ความคิด การเรียนรู้ ได้ยิน เห็น พูด เดิน ความสมดุลในการทรงตัว ถ้าส่วนนี้ตายไป ถือว่า บุคคลนั้นตายแล้ว เช่น ขาดเลือดเกิน 4 นาที
1.2 ซีรีเบลรัม(สมองส่วนหลัง) มีขนาดเล็กกว่าซีรีบรัม ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว และสมดุล
1.3 ก้านสมอง ได้แก่ เมดุลลาออบลองกาตา พอนด์ ทำหน้าที่ควบคุม การหายใจ หัวใจ หลั่งน้ำย่อย หลั่งฮอร์โมน
2. ไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทต่อมาจากสมองบรรจุอยู่ภายในกระดูกสันหลัง เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานแบบ รีเฟลกซ์แอกชั่น คือ การตอบสนองแบบไม่ตั้งใจโดยไม่ผ่านสมอง เช่น การดีดเท้าเมื่อเคาะหัวเข่า การกระดกเท้าเมื่อเหยียบหนาม
2.7 ระบบโครงกระดูก
ในร่างกายมนุษย์ เป็นระบบโครงกระดูกภายใน มีทั้งหมด 206 ชิ้น อยู่ที่มือ และเท้ามากที่สุด ประกอบด้วยกระดูกแกนหลัก 80 ชิ้น กระดูกระยาง ที่ใช้เคลื่อนไหว 126 ชิ้น เซลล์กระดูกประกอบด้วยเซลล์มีชีวิต และส่วนที่แข็งประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต และ แคลเซียมฟอสเฟต ภายในบรรจุไขกระดูกทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง
2.8 ระบบกล้ามเนื้อ
ในร่างกายมนุษย์ มีกล้ามเนื้อมากกว่า 500 มัด น้ำหนักรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของร่างกาย แบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม
ก. เซลล์กล้ามเนื้อลาย (reticular muscle) พบตาม แขน ขา ติดกับกระดูก ทำงานหนัก อยู่ใต้อำนาจจิตใจ
ข. เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) พบตาม อวัยวะภายใน เช่น ทางเดินอาหาร ลำไส้ มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ
ค. เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac cell) พบที่หัวใจ ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ
คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ
1. ความเมื่อยล้า เกิดจากการทำงานนาน ๆ แล้วเกิดกรดแลกติกจากการสร้างพลังงานในเซลล์
2. การเป็นตะคริว เกิดจากการทำงานนาน ๆ แล้วขาดเลือด และออกซิเจน
3. เซลล์กล้ามเนื้อไม่มีการสร้างใหม่แต่จะเจริญโตขึ้น
4. เมื่อถูกตัดเซลล์ที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์จะสร้างส่วนที่ขาดหายไปแทนได้ ส่วนที่ไม่สมบูรณ์จะเสื่อมสลายไป
2.9 ระบบภูมิคุ้มกัน
เชื้อโรคทุกชนิดจะมีสารเคมีที่ผิวเซลล์ เรียกว่า “แอนติเจน” (antigen) เมื่อร่างกายเราได้รับเชื้อโรค ร่างกายเราก็จะสร้างสารเคมีต่อต้าน เรียกว่า “แอนติบอดี” (antibody)อยู่ในกระแสเลือด ซึ่งจะจับกับแอนติเจนที่ผิวของเชื้อโรค เฉพาะตัวกันเท่านั้น
เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ ในต่อมน้ำเหลือง สามารถสร้างสาร แอนติทอกซิน เพื่อทำลายสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นได้ด้วย
เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์ สามารถ ทำลาย เชื้อโรคได้ด้วย เรียกว่า “ฟาโกไซโตซีส”
วัคซีน เป็นเชื้อโรคที่กำลังอ่อนตัวหรือตายแล้ว แต่ยังมี แอนติเจน ที่สามารถไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง แอนติบอดี เพื่อทำลายเชื้อโรคก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นเราจึงต้องได้รับวัคซีนให้ครบทุกชนิด เซรุ่ม เป็นสาร แอนติทอกซิน ที่สร้างมาจากที่อื่น เพื่อให้ทำลายได้เร็วก่อนที่พิษจะเข้าสู่จุดดับของชีวิต

___________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น: