วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ชุดการสอนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องชีวิตสัตว์

+++ชีวิตสัตว์ +++
3.1 โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ
การเจริญเติบโตของสัตว์
การเจริญเติบโตของสัตว์วัดได้จากความสูงและน้ำหนักของร่างกาย ถ้าจำแนกรูปแบบการเจริญเติบโตของสัตว์จะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การเจริญเติบโตรูปตัว S(S-Shspe Growht Curve) พบในสัตว์ต่าง ๆ ที่ไม่มีการลอกคราบขณะเจริญเติบโต เช่น ปลา กบ นก หอย ไส้เดือน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ฯลฯ
2. การเจริญเติบโตแบบรูปขั้นบันได (Intermittent Growth Curve) ดูกราฟ พบในแมลงที่มีการลอกคราบ เช่น แมลง กุ้ง กั้ง ปู ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น

ประเภทของการเจริญเติบโตของสัตว์
ถ้าจำแนกหลังระยะตัวอ่อน (embryo) จะแบ่งได้ 2 พวก
1. แบบ อะเมตามอร์โฟซีส (ametamorphosis) คือ ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง จากไข่กลายเป็นตัวเต็มวัย เช่น สัตว์ใหญ่ และ แมลงไม่มีปีก ได้แก่
1.1 แมลง ได้แก่ ตัวสองง่าม ตัวสามง่าม แมลงหางดีด
1.2 สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ไส้เดือน ไฮดรา พยาธิตัวตืด
1.3 สัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลา สัตว์เลื้อยคลาน
2. แบบ เมตามอร์โฟซีส (metamorphosis) คือ เปลี่ยนแปลงรูปร่างต่างจากพ่อแม่เป็นขั้น ๆ จนเป็นตัวเต็มวัย มีการเกิดอวัยวะใหม่หรือบางส่วนหายไป ได้แก่
1.1 สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
1.2 แมลง ได้แก่ ไส้เดือน ไฮดรา พยาธิตัวตืด
1.3 แมง และกลุ่มอื่น ๆ อีก กุ้ง กั้ง ปู
เมตามอร์โฟซีสของแมลงนั้น มีหลายรูปแบบ ดังนี้
1. เมตามอร์โฟซีสแบบค่อยเป็นค่อยไป (grandual metamorphosis หรือ paurometabolous) ตัวอ่อนไม่มีปีก เรียกว่า ตัวนิมพ์ (nymph) ระบบต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีระยะดักแด้ (pupa) ได้แก่ ปลวก ตั๊กแตน แมลงสาบ
2. เมตามอร์โฟซีสแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosisหรือ hemimetabolous) เช่น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ เรียกว่า ไนแอด (naiad) ให้เหงือกหายใจ ไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีปีกอยู่บนบกหายใจโดยใช้ท่อลม ไม่มีระยะดักแด้ ได้แก่ แมลงปอ ชีปะขาว
3. เมตามอร์โฟซีสแบบสมบูรณ์ (completemetamorphosisหรือ horometabolous) ตัวเต็มวัย มีการเจริญครบ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ (egg) ระยะหนอน(larva) ระยะดักแด้(pupa) และตัวเต็มวัย (adout) ได้แก่ ยุง ผีเสือ ไหม มด ต่อ แตน แมลงวัน ด้วง ฯลฯ
3.2 พฤติกรรมของสัตว์
พฤติกรรม (behavior)คืออะไร สิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ชั้นต่ำตลอดจนพวกพืช มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระตุ้นหรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยการแสดงกิริยาออกมาให้เห็นได้จากภายนอก เรียกว่า พฤติกรรม (Behavior) ดังนั้น พฤติกรรมก็คือ กิริยาที่สิ่งมีชีวิตแสดงออกมาเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่กระตุ้น ซึ่งมีทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอกร่างกาย อันเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อการอยู่รอดของชีวิต
สัตว์มีอวัยวะรับความรู้สึกที่แตกต่างกันหลายชนิด สามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายใน เช่น ไส้เดือนดินเคลื่อนที่หนีแสงสว่างทั้ง ๆ ที่ไม่มีตา หรือสัตว์ต่าง ๆ สามารถเดินทางไปสู่แหล่งน้ำและแหล่งอาหารได้ โดยที่ยังไม่เห็นแหล่งน้ำและแหล่งอาหาร หรือการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์เพื่อหลบหลีกหนีจากสิ่งที่จะเป็นอันตรายนั้น เป็นการแสดงการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นความรู้สึกนั่นเอง
การศึกษาพฤติกรรมในสัตว์ใด ๆ จำเป็นต้องทราบถึงสภาพทางสรีระวิทยาของสัตว์ชนิดนั้น ๆ เสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมของสัตว์เกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบต่อไร้ท่อ ระบบกล้ามเนื้อ ความเกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์หลาย
ระบบ จึงมีผลต่อการแสดงออกมาของพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการล่าเหยื่อ จะต้องมีการเคลื่อนไหวในลักษณะท่าทางต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ระบบโครงกระดูก ระบบต่อมไร้ท่อ (หลั่งฮอร์โมนออกมากระตุ้นการทำงาน)และระบบประสาท (ควบคุมการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ) การศึกษาพฤติกรรมในลักษณะการอาศัยความรู้ทางสรีระวิทยา นอกจากนั้นยังมีการศึกษาพฤติกรรมโดยวิธีการทางจิตวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมในสัตว์ เช่น การศึกษาจากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติ หรือในห้องทดลอง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอธิบายพฤติกรรมของสัตว์ และในบางครั้งจะต้องอาศัยวิธีการทั้งสองวิธีร่วมกัน
3.2.1 กลไกการเกิดพฤติกรรมในสัตว์
1. การเกิดพฤติกรรมต่างๆของสัตว์จะต้องมีสิ่งมากระตุ้นและสัตว์จะต้องได้รับสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นผ่านมาทาง
อวัยวะรับสัมผัสหลายทางแล้วสัตว์จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การวิ่ง การร้องไห้ การหัวเราะ การสืบพันธ์ การกินอาหาร เป็นต้น
2. สัตว์แต่ละชนิดจะมีความสามารถในการรับสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเราไม่เหมือนกันการตอบสนองที่แสดงออกเป็นพฤติกรรม จึงแตกต่างกันออกไปด้วย
3. สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ ความร้อน แสง เสียง น้ำ อาหาร แรงดึงดูดของโลก เป็นต้น และสิ่งเร้าภายในที่อยู่ภายในร่างกายของสัตว์ เช่น ความหิว ความกระหาย ความต้องการทางเพศ เป็นต้น สิ่งเร้าภายในนี้มีผลมาจากการทำงานของระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ
4. ระบบประสาท โดยระบบประสาททำหน้าที่รับความรู้สึก แล้วส่งไปยังระบบส่วนกลาง จากนั้นส่งไปยังหน่วยปฏิบัติงาน แล้วทำให้เกิดพฤติกรรมขึ้น
5. เหตุจูงใจ ซึ่งหมายถึง ความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ ก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ความกระหาย ความหิวโหย เป็นต้น
6. การที่สัตว์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้ ขึ้นอยู่กับ การมีเหตุจูงใจในระดับที่สูงพอสมควร และได้รับสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่สอดคล้องกับเหตุจูงใจนั้น ๆ

3.2.2 พฤติกรรมแบบต่าง ๆ ในคนและสัตว์
พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนและสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมที่มาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาได้เอง โดยไม่ต้องมีการฝึกฝนหรือเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้สัตว์สามารดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท สัตว์จะต้องมีความสามารถในการจำ เช่น พฤติกรรมการลดการตอบสนองต่อเสียงดังมาก ๆ ของนกที่สร้างรังอยู่ริมถนน นกที่สร้างรังอยู่ริมถนนจะตกใจและบินหนีทุกครั้งที่มีรถแล่นผ่านแต่พอนาน ๆ เข้า นกก็จะค่อย ๆ เรียนรู้ไม่มีอันตรายเกิดขึ้น จึงเลิกบินหนีและดำรงชีวิตตามปกติ
3.2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการของระบบประสาท
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถรับรู้และมีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ แต่สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเดียวกันด้วยพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปซึ่งมีผลสืบเนื่องจากสัตว์แต่ละชนิด มีพัฒนาการของระบบประสาทไม่เท่ากัน เช่น การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีกลไกการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกันไปตามความซับซ้อนของระบบประสาท ตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กพวกโพรโตซัว พบว่า ไม่มีเซลล์ประสาท แต่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ โดยเซลล์ทั้งเซลล์ทำหน้าที่เป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ครบสมบูรณ์ สามารถรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อม และมีการตอบสอนงได้ในเซลล์เดียวกัน ในโพรโตซัวบางชนิด เช่น พารามีเซียมตอบสนองต่อแสงสว่าง อุณหภูมิ สารเคมี และวัตถุที่มีสัมผัส โดยการเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่หนี
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีกลไกการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกันไปตามความซับซ้อนของระบบประสาท ตัวอย่างเช่น ไฮดรา แมงกะพรุน มีเส้นประสาทเชื่อมโยงกันคล้ายร่างแห เรียกว่า ร่างแหประสาท (Nerve Net) สามารถนำกระแสประสาทได้ทุกทิศทาง เมื่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งถูกกระตุ้น เช่น ใช้เข็มแทงส่วนใดส่วนหนึ่งของไฮดรา ร่างกายของไฮดราหดสั้นลง
หอยต่าง ๆ หมึกทะเล ลิ่มทะเล พบว่า ประกอบด้วยปมประสาทเชื่อมกันโดยเส้นประสาทตามยาวและตามขวาง นอกจากนั้นยังมีอวัยวะสำหรับการสัมผัส ดมกลิ่น หรือลิ้มรส และอวัยวะรับความรู้สึกในการทรงตัว
พยาธิตัวตืดมีการรวมตัวของเซลล์ประสาทเป็นกลุ่มที่ส่วนหัว เรียกว่า ปมประสาท ซึ่งเป็นศูนย์รวมของระบบประสาท ไส้เดือนดิน ปลิง พบว่ามีจำนวนปมประสาทที่บริเวณหัวเพิ่มมากขึ้น แมลง กุ้ง มด พบว่ามีปมประสาทอยู่ที่ส่วนหัวและตามลำตัวดาวทะเล เม่นทะเล ปลิงทะเล พบว่า ระบบประสาทเป็นวงแหวนอยู่รอบปาก
พฤติกรรมส่วนใหญ่ของสัตว์ประเภทดังกล่าว เป็นพฤติกรรมที่เป็นมาแต่กำเนิดเป็นกิริยาที่แสดงออกด้วยการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใด โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง นอกจากนั้นเริ่มมีพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างง่าย ๆ
สำหรับการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้น เนื่องจากมีการวิวัฒนาการสูงขึ้น จะมีจำนวนเซลล์ประสาทสันหลังภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้น และมีการเปลี่ยนตำแหน่งจากระบบประสาทที่อยู่ทางด้านท้องมาอยู่ด้านหลัง มีศูนย์ควบคุมการทำงานอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วยสมอง (Brain) และไขสันหลัง (Spinal Cord) อวัยวะเหล่านี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะประกอบด้วยตัวเซลล์และใยประสาทที่แยกออกจากตัวเซลล์ มีปมประสาทและเส้นขั้นต่ำ มีการเรียนรู้มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีพฤติกรรมการเรียนรู้สูงมากขึ้นสำหรับคนนั้น มีพฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นการใช้เหตุผล
3.2.4 พฤติกรรมทางสังคม
พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อของสัตว์ชนิดเดียวกัน ทำให้สัตว์เหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ วิธีการติดต่อสื่อสารของสัตว์โดยทั่วไปมี 4 แบบ คือ การสื่อสารด้วยท่าทาง การสื่อสารด้วยเสียง การสื่อด้วยการสัมผัส และการสื่อด้วยสารเคมี
3.3 การสืบพันธุ์ของสัตว์(reproduction)
การสืบพันธุ์ หมายถึง การทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexaul reproduction) ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การแตกหน่อ แบ่งเซลล์ การงอกใหม่ เช่น สัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ไฮดรา ฟองน้ำ พลานาเรีย ยูกลีนา อะมีบา พารามีเซียม
ลักษณะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
1.1 การแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.2 การแตกหน่อ (budding) เช่น ไฮดรา ยีสต์ ไผ่ กล้วย ฟองน้ำ หนอนตัวแบน
1.3 ขาดออกเป็นท่อน (fragmentation) เช่นหนอนตัวแบน สาหร่าย
1.4 งอกไหม่ (regeneration) คล้ายกับขาดออกเป็นท่อน แต่มาจากส่วนที่ถูกทำลายไป ส่วนที่เหลืองอกขึ้นมาแทนจนสมบูรณ์ เช่น ไส้เดือน หรือส่วนท้ายของพลานาเรีย ที่ขาดออก ส่วนท้ายนั้นก็จะเจริญเป็นตัวสมบูรณ์ตัวใหม่
1.5 สร้างสปอร์ (sporulation)
1.6 ไข่ที่ฟักตัวโดยไม่มีการปฏิสนธิ (pathenogenasis) ถ้าสภาวะไม่ปกติตัวเมีย สามารถไข่และฟักเป็นตัวได้ เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำ
2. การสืบพันธุ์แบบ อาศัยเพศ (sexaul reproduction) อาศัยเซลล์สืบพันธุ์ คือ ไข่ กับสเปิร์มเช่น การสืบพันธุ์ในสัตว์ชั้นสูง แบ่งได้ 2 กลุ่ม
2.1 ปฏิสนธิภายนอก (external fertilizetion) จะเกิดขึ้นภายนอกเพศเมีย โดยเพศเมียวางไข่ในน้ำ โดยการสร้างหวอด หรือโพรง แล้วเพศผู้ปล่อยสเปิร์มเข้าไปผสม พบในสัตว์น้ำ เช่น หอย ปลา ดาวทะเล สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
2.2 ปฏิสนธิภายใน (Internal fertilization) จะเกิดขึ้นภายในเพศเมีย พบในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำบางชนิด ได้แก่ ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ฉลาม กุ้ง ปู
3.4 การขยายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ (Breeding)
1. การผสมแบบเลือดชิด (inbreeding) เป็นการผสมระหว่างสัตว์สายเลือดเดียวกัน เช่น แม่กับลูก พ่อกับลูก พี่กับน้อง และกับลูกกับหลานต่อ ๆ ไป ข้อดี สามารถคัดเลือกสัตว์ที่เป็นพันธุ์แท้ได้ใกล้เคียงที่สุด ข้อเสีย ทำให้ลักษณะไม่ดีปรากฏออกมา มากกว่าดี จึงเหมาะสำหรับคัดสัตว์ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เช่น สุนัข
2. การผสมแบบข้ามสายพันธุ์ (Out breeding) เป็นการผสมระหว่างสัตว์สายพันธุ์เดียวกันแต่คนละสายเลือด เช่น สุนัขไทยกับสุนัขเทศ คนไทยกับฝรั่ง หมูพันธุ์กับหมูป่า ฯลฯ ข้อดี คือ ได้สายพันธุ์ใหม่ และ สามารถเพิ่มลักษณะดีได้มากขึ้น เช่น ผลผลิต รูปร่าง หน้าตา ข้อเสีย ทำให้พันธุกรรมสัตว์แปรปรวน พันธุ์ดั้งเดิมอาจสูญพันธุ์
3. การผสมแบบข้ามพันธุ์ (Crossbreeding) เป็นการผสมระหว่างสัตว์ต่างชนิดกัน เช่น ม้ากับลาจะได้ ล่อข้อดี คือ ได้สายพันธุ์ใหม่ และ สามารถเพิ่มลักษณะดีได้มากขึ้น เช่น ทนทาน ข้อเสีย จะเป็นหมัน
3.5 เทคนิคการเพิ่มผลผลิตของสัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวะภาพ
ทำได้หลากหลายควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ได้แก่
1. พันธุศาสตร์วิศวกรรม(genetic engineering) มีความหมายดังนี้
ก. เป็นกระบวนการตัดต่อยีนจากหลายแหล่งแล้วนำกับเข้าสู่สิ่งมีชวิตเดิมหรือตัวใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิต
ทนทานต่อโรค เช่น GMOs (Genetically Modified Oganism) ได้แก่ ไก่ไร้ขน เป็นต้น
ข. เพิ่ม DNA เข้าสู่เซลล์ ที่ไม่ดีให้พัฒนาตาม DNA ใหม่
ค. การดัดแปลงพันธุกรรมภายใน DNA โดยตรง
ง. นำยีนจากที่หนึ่งมาสังเคราะห์แล้วใส่กลับไปยังสิ่งมีวิตอื่น
ประโยชน์
1. การเพิ่มผลิตภัณฑ์โปรตีนหายาก ได้แก่ ผลิตฮอร์โมน วัคซีน เอนไซม์ พลาสมา
2. ปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์ เช่น ทำยาปฏิชีวนะ การกำจัดของหรือน้ำเสีย
3. เพิ่มลักษณะที่ต้องการ เช่น การตรึงไนโตรเจน เพิ่มกรดอะมิโนในข้าว
4. ตรวจสอบความบกพร่องทางพันธุ์กรรม เช่น ธาลัสซีเมีย ปัญญาอ่อน มะเร็ง
5. ผลิตพลังงานจากชีวมวลที่มาก เช่น ผลิตแอลกอฮอล์ จากมันสำปะหลัง
2. การผสมเทียม (artificial) คือการปฏิสนธิโดยตัวผู้และตัวเมียไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน โดยได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น โดยเฉพาะมนุษย์
1.1 การผสมเทียมในสัตว์ใหญ่ ได้แก่ สุกร วัว ควาย ช้าง ม้า แพะ แกะ จะกระทำได้ต้องให้ตัวเมียมีระยะที่ไข่สุกเรียกว่า สัด(heat) โดยสังเกตจากพฤติกรรมของสัตว์แล้วใช้น้ำเชื้อแช่แข็งฉีดเข้าไปในท่อนำไข่ ส่วนขั้นตอนและวิธีการจะได้ศึกษาในชั้นสูงต่อไป
1.2 การผสมเทียมในปลา หลักการโดยเร่งให้ตัวเมียวางไข่ด้วยการฉีดฮอร์โมนจากต่อมไต้สมองของปลาตัวอื่นชนิดเดียวกันมาผสมน้ำยาแล้วฉีดเข้าบริเวณหลัง โดยฉีดประมาณ 2 โดส รอเวลา ประมาณ 15 นาที ตัวก็จะออกไข่ ก็เร่งโดยการบีบไข่ออกใส่ภาชนะแล้วนำปลาตัวผู้ที่สมบูรณ์มาบีบสเปิร์มผสมลงไปแล้วนำไปฟักในบ่อฟัก ส่วนขั้นตอนและวิธีการจะได้ศึกษาในชั้นสูงต่อไป
** โดส = น้ำหนักปลาที่นำมาเก็บต่อม/น้ำหนักปลาที่ถูกฉีดฮอร์โมน
3. การย้ายฝากตัวอ่อน(embryo transfer : ET)
4. การโคลนนิ่ง (cloning)
__________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น: